สาระน่ารู้

หน้าแรก > บทความ > ✨5 Checklist สำคัญสำหรับวางแผนการเงินยุคใหม่ที่คุณไม่ควรพลาด

✨5 Checklist สำคัญสำหรับวางแผนการเงินยุคใหม่ที่คุณไม่ควรพลาด

วันที่เขียน 14/11/2024
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล KPN

✨5 Checklist สำคัญสำหรับวางแผนการเงินยุคใหม่ที่คุณไม่ควรพลาด

เพราะชีวิตที่มั่นคง ใครๆ ก็อยากมี การวางแผนการเงินจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตได้ เพราะว่าการวางแผนการเงิน คือการวางแผนที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ไม่ลำบาก มั่นคง และสามารถทำตามความฝันได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่เล็กหรือใหญ่ก็ตาม การวางแผนการเงินที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และการวางแผนในอนาคต เราจำเป็นที่จะต้องรู้อะไรบ้าง วันนี้ตามมาดูกัน

✨Check List สำคัญ ก่อนวางแผนการเงินสำหรับอนาคต

วางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าในแต่ละเดือนเราจะสามารถเก็บสะสมเงินเพื่อวางแผนทางการเงินได้เท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง สิ่งที่จะช่วยได้คือการเริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั่นเอง เพราะก่อนที่เราจะวางแผนการเงินได้อย่างดี เราต้องวางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนให้ได้เสียก่อน หากเราใช้จ่ายตามใจ จนทำให้สภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บ หรือชักหน้าไม่ถึงหลัง ปล่อยไว้นานก็คงไม่ดี และนั่นหมายความว่า เราจะไม่มีความพร้อมสำหรับโอกาสในอนาคตอีกด้วย

เมื่อเราทำบัญชีรายรับรายจ่าย เราจะเห็นว่าเส้นทางการเงินของเราไปที่ไหนบ้าง มีรายรับเท่าไหร่ จากกี่ช่องทาง มีรายจ่ายเท่าไหร่ ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และเราจะเห็นได้ว่า เงินไปลงที่ไหนมากที่สุด รายจ่ายตรงไหนสามารถลดได้ หลังจากนี้แล้ว เราจะสามารถวางแผนทางการเงินได้ดีขึ้น เพื่อความพร้อมสำหรับโอกาสในอนาคต และเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

มีเงินสำรอง: เงินสำรองต้องออมอย่างน้อย 10% ของรายได้

เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่สามารถหยิบมาใช้ได้ทันทีเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเหตุไม่คาดคิด เพราะว่าเหตุการณ์เหล่านี้คือสิ่งที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่ต้องควรเตรียมเอาไว้นั่นเอง เงินสำรองควรที่จะต้องออมอย่างน้อย 10% ของรายได้ เช่น หากมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท ควรที่จะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 200,000 บาท

สำหรับการเริ่มต้นออมเงินสำรอง อาจจะเริ่มเก็บจากเงินเดือนอย่างน้อย 5-10% ของรายได้ต่อเดือน เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น เงินก็จะงอกเงยขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้แล้ว หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง เราจะสามารถใช้เงินสำรองส่วนนี้ได้นั่นเอง เช่น มีรายได้ 40,000 บาท ควรที่จะต้องออมฉุกเฉินต่อเดือนอย่างน้อย 4,000 บาท เป็นต้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ เราสามารถออมได้จริง แลละสามารถปรับสัดส่วนเงินออมได้ตามต้องการ แต่ต้องออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความมั่นคงสำหรับอนาคตของตัวคุณเอง

วางแผนประกันสุขภาพ: ซื้อลดหย่อนภาษี

การซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะว่าร่างกายของคุณมีแค่ร่างกายเดียว แม้ว่าจะดูแลดีแค่ไหน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว แต่เรื่องของสุขภาพคือสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ได้ การที่มีประกันสุขภาพและประกันชีวิต ยังช่วยให้เราเบาใจเรื่องค่าใข้จ่ายเพื่อสุขภาพ ว่าเราไม่ต้องจ่ายหนักเองเมื่อต้องเข้าโรงพยาบาล

นอกจากนี้แล้ว ยังช่วยลดหย่อนภาษีให้กับเราได้อีกด้วย เนื่องจากเราต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุกๆ ปี หากมีรายได้ การวางแผนการเงินด้วยการวางแผนภาษีจะเข้ามาช่วยกำหนดแนวทางการเสียภาษีได้อย่างเหมาะสม ช่วยประหยัดภาษี และทำให้เรามีเงินเหลือไปใช้งานในกิจกรรมอื่นอีกด้วย

ศึกษาและเริ่มลงทุนเพื่อต่อยอดทางการเงิน

หลังจากที่เรามีวางแผนการเงินทั้งมีบัญชีรายรับรายจ่าย มีเงินสำรองฉุกเฉิน และวางแผนสำหรับซื้อประกันเรียบร้อยแล้ว การที่เราจะทำเงินให้งอกเงยได้นั้น ก็คือการเริ่มลงทุนเพื่อต่อยอดทางการเงินนั่นเอง แต่การฝากเงินในบัญชี อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่การลงทุนในรูปแบบอื่น อาจจะตอบโจทย์มากกว่า หากต้องการผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพราะว่าการลงทุนนั้น มีทั้งได้รับผลตอบแทนให้งอกเงยยิ่งขึ้น และสะสมไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกำไรและเงินก้อนโต แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจจะทำให้จมทุนได้ ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนเพื่อต่อยอดทางการเงิน จึงต้องศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน

วางแผนเกษียณ

หลายคนอาจจะมีคำถามว่าเราควรที่จะวางแผนเกษียณกันตั้งแต่เมื่อไหร่ดี คำตอบที่ดีที่สุดคงจะเป็น ควรเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานช่วงปีแรก ๆ เพื่อปูทางสู่ความมั่นคั่งในอนาคต โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้ชีวิตหลังเกษียณนั่นเอง เพราะว่ายิ่งเริ่มวางแผนเร็ว เราจะยิ่งได้เปรียบมากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่า เราจะมีเงินใช้จ่ายจิปาถะในวัยเกษียณได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

แต่เมื่อเริ่มวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ อย่าลืมว่าต้องบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไป ประมาณ 2-5% เพื่อคำนวณว่า ค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน จะกลายเป็นเท่าไหร่เมื่อเกษียณอายุ ที่สำคัญเลยก็คือ ควรที่จะต้องตรวจสอบและปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่า การวางแผนทางการเงินนั้น เป็นไปอย่างดี และจะเดินทางถึงเป้าหมายอย่างแน่นอน

โปรโมชั่นประกันภัยอื่นที่คุณอาจสนใจ

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล KPN

ประกันอุบัติเหตุ เดลิเวอร์รี่

ประกันอุบัติเหตุ เดลิเวอร์รี่

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล KPN

ครบ คุ้มค่า ราคาเบี้ยเริ่มเพียงหลักร้อย จาก 3 บริษัทประกันชั้นนำ

ครบ คุ้มค่า ราคาเบี้ยเริ่มเพียงหลักร้อย จาก 3 บริษัทประกันชั้นนำ

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล KPN

ทุกการเรียนรู้คือการเติบโต ให้ทุกการเรียนรู้ของเค้านั้น มีแต่ความสนุก

ทุกการเรียนรู้คือการเติบโต ให้ทุกการเรียนรู้ของเค้านั้น มีแต่ความสนุก

CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.